สพป.มุกดาหาร - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ประชาสัมพันธ์ สพป.มุกดาหาร สพป.มุกดาหาร +(042) 611 532 office@mdh.go.th
หน้าแรก e-News ข้อมูลการติดต่อ เข้าสู่ระบบ

สพป.มุกดาหาร เข้าร่วม "การประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕" ผ่านระบบ Video Conference

โพสต์เมื่อ : 3 ส.ค. 2565 เวลา 16:43 น. IP: 122.154.142.74, 122.154.142.74
แชร์ให้เพื่อน

วันพุธที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสานฝันศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

นายวรรณสิทธิ์ คำเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร นำคณะผู้บริหาร บุคลากรในสังกัด และผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด สพป.มุกดาหาร เข้าร่วม "การประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕" ผ่านระบบ Video Conference เพื่อรับฟังคำชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามนโยบาย โดยมี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมทั้งมอบนโยบาย ประเด็นเร่งด่วน และข้อราชการต่าง ๆ เพื่อให้งานบริหารในสำนักงานเขตพื้นที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกรอบมาตรฐานของ สพฐ. ต่อไป

โดย นายอัมพร พินะสา ได้มอบนโยบายและข้อราชการต่าง ๆ ดังนี้

๑. การรายงานผล ๑๒ นโยบายกระทรวงฯ ๗ Quick Win ของเขตพื้นที่ฯ
ให้รายงานผล สรุปเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และเสนอแนะโอกาสการพัฒนาต่อยอดในปีงบประมาณต่อไป และเสนอแนะสะท้อนกลับมายัง สพฐ. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการแผนดำเนินงาน ถือเป็นผลงานการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน โดยนำส่งรายงานวันประชุม ผอ.เขตทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ ก.ย. ๒๕๖๕ ในรูปแบบ On-Site ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่

๒. การก่อหนี้ผูกพันสำหรับการใช้จ่ายงบประมาณปลายปี
การใช้จ่ายงบประมาณปลายปี หากไม่ก่อหนี้ผูกพันใด ๆ จะไม่สามารถใช้เงินในเดือนกันยายนได้ ต้องก่อหนี้ผูกพันให้จบภายในเดือนสิงหาคมทุกรายการ

๓. การบริหารงานบุคคล
สรุปเตรียมการแก้ปัญหา ต่อยอด พัฒนางานด้านบุคคลในปีต่อไป มีหลายประเด็นดังต่อไปนี้
- พนักงานราชการและลูกจ้าง อัตราจ้าง ทุกตำแหน่งที่มีขณะนี้ และประเมินผ่าน สพฐ. อนุมัติจ้างต่อได้ทุกรายการ แต่ต้องทำบันทึกตามหลักการทางการเงิน เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ต.ค. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป และเนื่องจากลูกจ้างมี ๒ ส่วน คือ ลูกจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ และ ลูกจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ขอให้เขตพื้นที่ดูแลไม่ให้มีผลกระทบการเบิกจ่าย
- ให้เขตพื้นที่ ได้ทำการสังเคราะห์ คำนวณอัตรากำลังทุกโรงเรียน ทราบได้ว่า เกินเกณฑ์ พอดีเกณฑ์ หรือต่ำเกณฑ์ คืนจากการเกษียณอายุราชการในปีนี้และได้รับจัดสรรกลับคืนไป ไปจัดวางในโรงเรียนที่ต่ำเกณฑ์ และไม่ขัดต่อเงื่อนไข คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) จากนั้น หากมีโรงเรียนที่ยังต่ำเกณฑ์ ให้เกลี่ยพนักงานราชการและลูกจ้าง ไปจัดวางในโรงเรียนที่ขาด แต่ถ้าหากยังมีเหลืออยู่ในโรงเรียนเกินเกณฑ์อื่น ให้มุ่งไปยกระดับคุณภาพในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล หรือโรงเรียนดี ๔ มุมเมือง
- วางแผนภายในเดือนสิงหาคม เพื่อรองรับโรงเรียนที่มี ผอ.เกษียณ แต่มี นร. ต่ำกว่า ๑๒๐ และครูเกษียณ อาจไม่มีครู หรือผู้ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต่าง ๆ

๔. ปัญหาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน
- โควิดยังมีการระบาดอยู่ โรคฝีดาษลิง อาจปิดห้อง ปิดชั้น ปิดโรงเรียน ขอให้เขตพื้นที่เข้มงวดมาตรการ ๖-๖-๗ ของ สธ. และลงพื้นหรือรับฟังปัญหาร่วมกับสาธารณสุขจังหวัด
- ปัญหาโรคทางจิต โรคซึมเศร้า ในนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา จนถึงนักการภารโรง ชูโมเดล สพป.อุบลราชธานี เขต ๑ ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัด เครื่องมือตรวจวัดสุขภาพทางจิตของเด็กและครูทั้งระบบ และ สพฐ. ได้ร่วมกับกรมสุขภาพจิต เพื่อออกแบบเครื่องมือสนับสนุนเขตพื้นที่
- ปัญหารายวันขณะนี้ คือการถูกล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียน ซึ่งผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิด และปัญหาที่พบร้อยละ ๙๐ เคยเกิดขึ้นมาแล้วถึงทราบภายหลัง ย้ำ ครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา ใส่ใจตรวจสอบอย่างใกล้ชิด และย้ำเขตพื้นที่ ผอ.โรงเรียน เรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ยังไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงปัญหา

๕. การย้ายครู ตามเกณฑ์ กคศ. และการบรรจุ ย้าย ผอ.โรงเรียน
- สำหรับการย้ายครู หลักเกณฑ์เดิม ให้ยื่นปีละ ๑ ครั้ง เดือนมกราคม และนับอายุราชการ หากเป็นครูต้องอยู่ ๒ ปี ครูผู้ช่วย ๔ ปี ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่ ไม่ว่าเป็นครูหรือครูผู้ช่วย ถ้าอยู่ครบ ๒๔ เดือน สามารถยื่นคำร้องขอย้าย และยื่นได้ปีละ ๒ ครั้ง
- การกำหนดกรอบอัตรากำลัง รอง ผอ.โรงเรียน สำหรับโรงเรียนที่มี นร. ๑๒๐ คนขึ้นไป สามารถนำครูไปกำหนดเป็นรองได้ หากอัตรานั้นว่างจากการตาย ย้าย ลาออก แต่หากเป็นอัตราคืนเกษียณ คปร. ไม่อนุญาต แต่หากเป็นกรณีสอบคัดเลือกรองนั้น สามารถทำได้ โดยปรับอัตราของครูเป็นรอง ซึ่งอัตราครูก็จะต่ำกว่าเกณฑ์ และสามารถนำอัตราเกษียณไปวางตำแหน่งครูคนนั้นได้ ซึ่งเป็นเทคนิคการบริหารงานบุคคล
- การย้าย ผอ.โรงเรียน ขอให้เขตพื้นที่อ่านหลักเกณฑ์ กำหนดทิศทาง กรอบวิธีการ ให้เป็นไปตามกรอบหลักเกณฑ์ที่ กคศ. กำหนด
- การประกาศสอบคัดเลือกศึกษานิเทศก์ในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้สมัครไม่ครบตามประกาศ ซึ่งเขตพื้นที่ต้องแสวงหา เชิญชวน ชี้ชวน คัดเลือกครูที่มีศักยภาพและเทียบเชิญมาเป็นศึกษานิเทศก์

๖. สพฐ. มีอัตรา พนักงานราชการ คืนเขตพื้นที่ เพื่อจัดสรรให้กับโรงเรียน
สพฐ. มีอัตราคืนไปให้ สนง. ที่มีอัตราต่ำเกณฑ์กว่าที่กำหนดในเกณฑ์กลาง โดยเฉพาะเขตมัธยมศึกษาที่เป็นเขตตั้งใหม่ ซึ่ง สพฐ. ได้วิเคราะห์แยกตามตำแหน่งไว้แล้ว และเขตพื้นที่ก็ดำเนินการสรรหาให้ได้ตามกรอบ ส่วนครู ต้องนำไปจัดสรรให้กับโรงเรียนที่ต่ำเกณฑ์มากไปน้อย

๗. การจัดกลุ่มการบริหารโรงเรียนในสังกัด
ขอให้เขตพื้นที่ได้จัดกลุ่มการบริหารโรงเรียนในสังกัด ในลักษณะ Area , Agenda , Function ให้ชัดเจน สำหรับส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล อาทิ โรงเรียนในโครงการพระราชดำริฯ โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED) โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายอย่างทันท่วงที และบรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่มโรงเรียน

๘. ความต้องการและการผลักดันของ สพฐ.
สพฐ. ได้ดำเนินการทำเรื่องเข้า ครม. เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหา ดังนี้ - การนำโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนขนาดเล็ก เข้าสู่ ครม. ในระยะที่ ๒ โดยของบพาหนะเพื่อพานักเรียนมาเรียนในโครงการฯ - เสนอขอปรับเงินอาหารกลางวันจาก ๒๑ บาท เป็น ๒๘ บาท อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของ ครม.

๙. สำรวจการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบทีวี
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) ได้สำรวจโรงเรียน ที่จัดการเรียนการสอนผ่านระบบทีวี ตามที่ขอความร่วมมือจาก กสทช. กรมประชาสัมพันธ์ และช่อง ๕ โดยจะสิ้นสุดการขอใช้สัญญาณในวันที่ ๑๔ ส.ค. ๒๕๖๕ นี้ และ สพฐ. ได้เสนอว่า อยากให้ช่องทางที่หลากหลายยังคงอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงขอให้เขตพื้นที่ติดตามกรอกรายละเอียดการใช้งานในแต่ละวันว่าได้เรียนผ่านช่องทางนี้กี่ชม. หรือใช้หรือไม่ มีความจำเป็นอย่างไร หากไม่คุ้มค่า ไม่ได้ใช้แล้ว จะนำเงินไปบริหารส่วนอื่นที่เป็นประโยชน์กว่า แต่หากใช้อยู่และจำเป็น สพฐ. ต้องการข้อมูลในส่วนนี้เพื่อมาตัดสินใจ

จากนั้น คณะผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก ของ สพฐ. พบปะพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป
- นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. เรื่อง "รายงานผลการขับเคลื่อนของพื้นที่สู่คุณภาพผู้เรียน"
- นายสุรินทร์ สว่างอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สพฐ. เรื่อง "พาน้องกลับมาเรียน ระยะที่ ๒ และการก่อหนี้ผูกพันของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา"
- นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เรื่อง
"การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนคุณภาพ ๔ ภูมิภาค"


ดูภาพข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://photos.app.goo.gl/13xjgTKiXmLqqxwr5

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

เนื้อหาหมวดเดียวกัน

ข้อมูลการขับเคลื่อนคุณธรรมความโปร่งใส : 2566( ITA Online 2023)