สพป.มุกดาหาร - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ประชาสัมพันธ์ สพป.มุกดาหาร สพป.มุกดาหาร +(042) 611 532 office@mdh.go.th
หน้าแรก e-News ข้อมูลการติดต่อ เข้าสู่ระบบ

สพป.มุกดาหาร เข้าร่วม "การประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๕" ผ่านระบบ Video Conference

โพสต์เมื่อ : 6 ก.ค. 2565 เวลา 22:01 น. IP: 61.90.29.194, 61.90.29.194
แชร์ให้เพื่อน

สพป.มุกดาหาร เข้าร่วม "การประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๕" ผ่านระบบ Video Conference

วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสานฝันศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

นายวรรณสิทธิ์ คำเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พร้อมด้วยรอง ผอ.สพป.มุกดาหาร นำคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด สพป.มุกดาหาร เข้าร่วม "การประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๕" ผ่านระบบ Video Conference เพื่อรับฟังคำชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามนโยบาย โดยมี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมทั้งมอบนโยบาย ประเด็นเร่งด่วน และข้อราชการต่าง ๆ เพื่อให้งานบริหารในสำนักงานเขตพื้นที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกรอบมาตรฐานของ สพฐ. ต่อไป

โดย นายอัมพร พินะสา ได้ชี้แจง สรุปประเด็นเชิงนโยบาย ต่าง ๆ ดังนี้

๑. ความปลอดภัย ในมิติสังคม : "ภัยที่คุกคามเด็กนักเรียนในวันนี้ ไม่ใช่ภัยธรรมชาติหรือโรคภัยไข้เจ็บ แต่เป็นภัยทางมิติสังคม"
ช่วงเปิดเทอมที่ผ่านมา พบปัญหาคือ ๑) การทะเลาะกันระหว่างเด็กนักเรียน มีจำนวนมากเป็นพิเศษ ต้องเน้นย้ำถึงการดูแล ป้องกัน สร้างความเข้าใจร่วมกัน ๒) นักเรียนทำร้ายตัวเอง ในหลายมิติ ถึงขั้นเสียชีวิต ประเด็นปัญหาเหล่านี้ ล้วนเกิดมาจากสภาพจิตใจของเด็กนักเรียนที่ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว ผ่านเครื่องมือสื่อสาร ไม่ได้ปฏิสัมพันธ์ พบปัญหาทางสังคมหลายรูปแบบ และ ๓) เด็กถูกทำร้ายจากบุคคลภายนอก เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และถึงขั้นข่มขืน กระทำชำเรา บางรายถึงขั้นตั้งท้อง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า "ภัยที่คุกคามเด็กนักเรียนในวันนี้ ไม่ใช่ภัยธรรมชาติหรือโรคภัยไข้เจ็บ แต่เป็นภัยทางมิติสังคม" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่เป็นนักเรียนพักนอน มาอยู่รวมกัน เน้นย้ำ ผอ.โรงเรียน ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยนี้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งในช่วง ๓ เดือนแรก ไม่ให้เน้นในเรื่องวิชาการเกินไป แต่ต้องเน้นในมิติสัมพันธ์ระหว่าง ครูและนักเรียน และอยากให้ทำงานร่วมกันกับสาธารณสุขจังหวัด สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อดูแลเรื่องนี้

๒. มิติ โอกาส ความเป็นอยู่ของนักเรียน : กิจกรรม "เยี่ยมบ้านของนักเรียน"
สืบเนื่องจากเรื่องที่ ๑ ถ้าทำโรงเรียนให้มีความสุขได้ ก็สามารถรู้ไปถึงความเป็นอยู่ของเด็ก อยากให้ทำกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อเข้าใจและเข้าถึงวิถีชีวิตของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างแท้จริง และหาทางช่วยเหลือเด็กแต่ละคนได้ อยากให้ ผอ.เขต ผอ.โรงเรียน ได้ส่งเสริมดำเนินการ กิจกรรม "เยี่ยมบ้านของนักเรียน" เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐาน และจะเชื่อมไปยังข้อ ๑ เรื่องความปลอดภัย

๓. มิติ แยกเด็กออกจากครอบครัวที่มีปัญหา
ทาง สพฐ. ประสานกับผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ถ้าหากเด็กมีสภาวะความยากลำบากในการที่จะอยู่ ให้ทางเขตพื้นที่เป็นตัวกลางในการนำเด็กนักเรียนหรือประสานการนำเด็กนักเรียน ไปยังโรงเรียนสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ช่วงใดก็ได้ที่เด็กมีปัญหา และต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ร่วมมือกับบ้านพักเด็ก เพื่อเข้าไปโรงเรียนต่าง ๆ เหล่านี้ได้เลย

๔. โครงการ พาน้องกลับมาเรียน
ในกลุ่มเด็กที่พบ แต่อยู่ในส่วนของการศึกษาภาคบังคับ เด็กทุกคนต้องกลับมาเรียน ๑๐๐ % ในกลุ่มเด็กที่มีอายุเกินการศึกษาภาคบังคับ จะต้องรณรงค์ ส่งเสริม สนับสนุน หาวิธีการช่วยเหลือ แต่หากจำเป็น อาจประสานกับ กศน. ในพื้นที่ ให้เด็กได้เรียนในหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรวิชาชีพ เพื่อให้เด็กมีงานทำ

๕. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ของเขตพื้นที่ ให้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ดำเนินการอย่างจริงจัง

๖. การจัดการเรียน
เน้นย้ำเรื่องการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดประเมินผล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภาวะปัจจุบัน โดยคำนึงถึงเด็กเป็นรายบุคคล โดยผู้เรียนเป็นฐาน ดังนี้
ป. ๑ - ป. ๓ ให้เน้นเรื่อง "การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น" เป็นสำคัญ
ป. ๔ - ป. ๖ เน้นเพิ่มเติมทักษะชีวิต
ม. ๑ - ม. ๓ เน้นการสร้างความหลากหลาย สร้างทางเลือกให้เด็ก และต่อยอดเสริมเติมในส่วนที่ขาด
ม. ๔ - ม. ๖ มุ่งไปที่อาชีพใดอาชีพหนึ่งที่เด็กต้องการ
โดยเฉพาะกระบวนการ Active Learning แล้วสอนให้ถึงสมรรถนะที่ต้องการ โดยให้เขตพื้นที่ สามารถประเมินได้ว่าโรงเรียนที่อยู่ในรับผิดชอบ มีกี่โรงเรียนที่ปรับแล้วอย่างจริงจัง กี่โรงเรียนที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือ ต้องแบ่งกลุ่มให้ชัด และส่งเสริมอย่างถูกต้อง

๗. ระเบียบ วินัย ความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม
ไม่อยากให้อยู่ในชั่วโมงเรียน หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ต้องหารูปแบบวิธีการเพื่อให้เป็นวิถีชีวิตของเด็ก

๘. สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

๙. การปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริหารจัดการโรงเรียน
สร้างโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลหรือชุมชน โดยใช้วิธีการจัดการเรียน เปลี่ยนการสอน เอาจริงเรื่องการสร้างคุณภาพผู้เรียน ส่วนโรงเรียนขนาดเล็ก ต้องออกแบบเตรียมการรองรับการบริหารจัดการ ให้เรียบร้อย ก่อนวันที่ ๑ ต.ค. ที่จะถึงนี้

๑๐. การบริหารงานบุคคล

๑๑. Learning Loss
เมื่อจัดการเรียนการสอน Hybrid แต่เจอปัญหา ชูนวัตกรรมของอยุธยา เขต ๒ เป็นแบบอย่าง

จากนั้น คณะผู้บริหารของ สพฐ. พบปะพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป
- ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. พบปะพูดคุยในเรื่อง "โครงการ พาน้องกลับมาเรียน"
- นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. พบปะพูดคุยในเรื่อง "ผลการประเมินสู่การต่อยอดคุณภาพผู้เรียน"
- นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ. พบปะพูดคุยในเรื่อง "การจัดสรรเงินดอกผล กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน ในโรงเรียนประถมศึกษา ประจำปี ๒๕๖๕"
- นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. พบปะพูดคุยในเรื่อง "สภานักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา"

 

ดูภาพข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://photos.app.goo.gl/qrdu28EB2KztFoh66

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

เนื้อหาหมวดเดียวกัน

ข้อมูลการขับเคลื่อนคุณธรรมความโปร่งใส : 2566( ITA Online 2023)