สพป.มุกดาหาร - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ประชาสัมพันธ์ สพป.มุกดาหาร สพป.มุกดาหาร +(042) 611 532 office@mdh.go.th
หน้าแรก e-News ข้อมูลการติดต่อ เข้าสู่ระบบ

คู่มือ การพัฒนาผู้เรียนตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐

โพสต์เมื่อ : 18 มิ.ย. 2567 เวลา 15:22 น. IP: 122.154.142.74
แชร์ให้เพื่อน

คู่มือ การพัฒนาผู้เรียนตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐

ความสําคัญและความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราโชบายด้านการศึกษาในหลายประการที่ สําคัญ และทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ ตั้งเป็น ?โครงการกองทุนการศึกษา? เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือ โรงเรียน ทั้งด้านความพร้อมทางกายภาพ การเรียนการสอน ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ อาทิ การซ่อมแซม บ้านพัก ครูในโรงเรียนต่างจังหวัดและท้องถิ่นห่างไกล เพื่อให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การรับเด็กมาเรียนครู อาจเปิดโอกาส ให้เด็กในพื้นที่มาเรียนครูเพิ่มมากขึ้น เพื่ออยู่ในโรงเรียนได้นานและปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้ง่าย เป็นต้น พร้อมมี พระราชดํารัสแก่คณะองคมนตรี เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ความว่า ?ต้องการให้ องคมนตรีลงไปช่วยดูแล เรื่องการศึกษา? ใน ๒ ประเด็นหลัก คือ ๑. การลดความแตกต่างและสร้างมาตรฐานการศึกษาให้เท่าเทียมกัน ระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ ห่างไกลหรือชายขอบ กับโรงเรียนในชุมชนเมือง ให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น ๒. การสร้างคนให้เป็นคนดี ต้องการให้องคมนตรีสอนคนเป็นคนดี มีคุณธรรม ซึ่งจากการ วิเคราะห์ พบว่าทรงเน้นคุณธรรมเรื่อง ?ความซื่อสัตย์? มาเป็นระยะเวลานาน เพราะการสร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นเรื่องสําคัญ และมีความเกี่ยวโยงไปถึงครูกับศิษย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏในฐานะผลิตครูโดยตรง เมื่อครู รักลูกศิษย์ ลูกศิษย์ก็จะรักครู เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการถ่ายทอดความรู้ จึงขอให้ครูเป็นต้นแบบในเรื่อง คุณธรรมจริยธรรม กระทําให้เด็กเห็นและทําตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ท่านก็รับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นให้ขยายไปภาคอื่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๖ เป็นภาคกลาง ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นภาคอีสาน - ภาคใต้ และปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นภาคเหนือขณะนี้ มีอยู่ประมาณ ๑๕๐ โรงเรียน โรงเรียนในกลุ่มนี้ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่านให้ทําในระหว่างนั้น ท่านได้มี พระราช กระแสใหม่พระราชทานให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เช่น ๑) ครูต้องรักนักเรียน นักเรียนต้องรัก เคารพครู ใคร ที่มาเป็นครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมต้องรักนักเรียน ไม่รักไม่ได้ ต้องหวังดี ต้องมีเมตตากรุณา อย่างเต็มที่ ทํา อย่างไรให้เณรแต่ละรูปได้เรียนให้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละรูป ขาดเหลืออะไรเราต้องไป หามาให้แต่ละรูป พร้อมที่จะเรียนได้ดีที่สุด ๒) นักเรียนต้องรักเคารพครู ถ้าครูไม่รักนักเรียน การสอนที่ดีก็จะ ไม่เกิดขึ้น ถ้านักเรียน ไม่รักครู การเรียนที่ดีก็จะไม่เกิดขึ้น ๓) ครูต้องสอนให้เด็กมีน้ําใจแก่เพื่อน ท่านทรงยก ตัวอย่างว่า ในชั้นเรียนหนึ่ง ครูไม่ควรไปยั่วยุให้เด็กแข่งที่ ๑ ที่ ๒ แต่ให้เด็กที่เรียนเก่งตัวหรือสอนเพื่อนที่เรียน ช้าเพราะทุกคนต้องแข่งกับ ตัวเองส่วนคนเก่งก็แข่งกับตัวเองก็จะเก่งขึ้น ส่วนคนที่เรียนปานกลางแข่งกับตัวเอง จากปานกลางก็จะเป็นเก่ง ส่วน คนที่เรียนอ่อนแข่งกับตัวเอง ก็จะเป็นปานกลางหรือเก่งก็ได้ แต่อย่าไปยุให้เด็ก แข่งกันจบออกมาก็จะไปชิงดีชิงเด่น กัน ๔) ให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กทําเป็นหมู่คณะ เพื่อเด็กจะได้เห็นคุณค่า ของความสามัคคี เพราะเมื่อช่วง ๒ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๓ ? ๒๕๕๔) ประเทศเราแบ่งสีแบ่งสรรกัน ฆ่ากันบนถนน โยนระเบิดใส่กัน เอาปืนยิงใส่กัน ตายกันเป็น กลุ่ม ๆ บางภาคถึงกับถือป้ายบ่งบอกว่าจะแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมัน ไม่ควรเกิดขึ้นในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ทรงมี พระปณิธานตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โดยเฉพาะในเรื่องของปัญหา หนี้สิน ครู ทรงมีความห่วงใยเป็นอย่างมาก จึงมีรับสั่งให้องคมนตรีช่วยหาทางแก้ไข เพื่อไม่ให้ครูมีห่วงหรือกังวล กับการ หมุนเวียนเงินเพื่อชําระหนี้ อันจะส่งผลต่อการถ่ายทอดความรู้อย่างไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องคิดทั้ง ระบบ มิใช่ เพียงผ่อนชําระหนี้เท่านั้น แต่จะต้องปลูกฝังแนวคิดให้กับครู ไม่ยึดติดกับระบบกู้ยืมเงินสหกรณ์ออม ทรัพย์ ที่ จะต้องเป็นหนี้เพราะรักษาสิทธิ์ตัวเองจากการค้ําประกันให้ผู้อื่น รวมทั้งการนําเงินในอนาคตมาใช้ด้วย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติ สิริ สมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ทรงพระ ราชทานพระบรมราโชบายด้านการศึกษาเพื่อสานต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่าการศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน ดังนี้ ๑) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม ๓) มีงานทํา มีอาชีพ ๔) เป็นพลเมืองดี ประกอบกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๕๐) ได้กําหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนา ประเทศ ไว้ว่า ?ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก ปรัชญาของ เศรษฐกิจ พอเพียง? โดยยุทธศาสตร์ที่ ๓ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้น การ วางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคน ในทุก มิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพ พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไป ข้างหน้า ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง ?คนไทยในอนาคต จะต้อง มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการ ที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรมและเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษ ที่ ๒๑ สู่การเป็นคนไทย ที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการเกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมี สัมมาชีพตามความถนัดของ ตนเอง? เนื่องจากปัจจุบันนี้ กระแสโลกาภิวัตน์ ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้ง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนด้านอื่น ๆ ซึ่งการเปลี่ยน แปลงนี้เป็นไปอย่างแพร่หลายอัน ส่งผลกระทบต่อการดํารงชีวิตในยุคปัจจุบัน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ขอน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการ ศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริ สมบูรณ อดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ เพื่อ สืบสานพระราช ปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ บพิตร และนําเป็น แนวทางในการพัฒนาการศึกษาของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารต่อไป

ข่าวการศึกษา